คณะศึกษาดูงานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2568 ลงพื้นที่ศึกษาดูงานจังหวัดสระบุรี
คณะศึกษาดูงานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2568 ลงพื้นที่ศึกษาดูงานจังหวัดสระบุรี
ลวันที่ 30 มกราคม 2568 นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี กล่าวต้อนรับคณะศึกษาดูงานการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2568 ที่ได้เดินทางมาจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งให้ความสนใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของประเทศไทยในการศึกษาดูงานที่จังหวัดสระบุรี ณ ห้องประชุมพระพุทธบาท ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี
ศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่าจากการเริ่มนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี 2545 และได้มีการจัดตั้ง “ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ขึ้น โดยมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทำหน้าที่บริหารจัดการ ส่งผลให้คนไทยร่วม 48 ล้านคน ที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพรองรับ ได้มีสิทธิดูแลให้เข้าถึงการรักษาพยาบาลและบริการสาธารณสุขที่จำ โดยไม่มีอุปสรรคค่าใช้จ่าย ทั้งช่วยลดจำนวนครัวเรือนที่ยากจนลง จากภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลลงได้ โดยเฉพาะโรคค่าใช้จ่ายสูง
อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิฯ เข้ารับบริการให้กับประชาชน ทั้งยังช่วยลดความแออัดของผู้ป่วยที่โรงพยาบาล ที่ผ่านมารัฐบาลจึงได้มีนโยบาย “30 บาทรักษาทุกที่” โดยเพิ่มเติมการให้บริการปฐมภูมิในมิติใหม่ ในส่วนภาคเอกชน ภายใต้ชื่อ “หน่วยนวัตกรรมบริการ” ซึ่งมีทั้งหมด 7 ประเภท ที่เกิดจากความร่วมมือกับสภาวิชาชีพต่างๆ ในระบบสุขภาพ

หัวใจสำคัญของการขยายบริการที่หน่วยนวัตกรรมบริการนี้ คือการพัฒนาเทคโนโลยีการให้บริการที่ช่วยเพิ่มความสะดวก การเชื่อมโยงระบบข้อมูลผู้ป่วยและหน่วยบริการ และการกำหนดอัตราการจ่ายค่าบริการที่เหมาะสมพร้อมระบบการเบิกจ่ายที่รวดเร็ว หน่วยนวัตกรรมสุขภาพมีความก้าวหน้าอย่างมากในการจัดหาบริการสุขภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลและขาดบริการ หน่วยเหล่านี้ให้บริการที่ครอบคลุม รวมถึงการดูแลป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษา โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสุขภาพเคลื่อนที่และการแพทย์ทางไกล หน่วยงานเหล่านี้มีเครื่องมือวินิจฉัยขั้นสูงและความสามารถในการแพทย์ทางไกล ช่วยให้สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแบบเรียลไทม์และติดตามผู้ป่วยจากระยะไกลได้ ช่วยเพิ่มคุณภาพการดูแลและรับรองการแทรกแซงที่ทันท่วงทีสำหรับภาวะเรื้อรังและเฉียบพลัน
ระบบ E-Claim ที่ใช้ AI: สปสช. ได้พัฒนาระบบ E-Claim สำเร็จแล้วด้วยการผสานเทคโนโลยี AI เพื่อเพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพในกระบวนการขอคืนเงินและการตรวจสอบ ระบบ E-Claim ใหม่ช่วยให้ผู้ให้บริการด้านการแพทย์สามารถส่งใบเรียกเก็บเงินค่าสินไหมทดแทนทางออนไลน์ได้ ทำให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินการจะรวดเร็วและแม่นยำ นวัตกรรมนี้ไม่เพียงแต่ทำให้กระบวนการบริหารงานคล่องตัวขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมบทบาทของ NHSO ในฐานะผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดการข้อมูลด้านการแพทย์ของประเทศอีกด้วย
ในส่วนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 4 สระบุรี ซึ่งรับผิดชอบหน่วยบริการระบบหลักประกันสุขภาพในพื้นที่ ภาคกลางและปริมณฑล 8 จังหวัดได้แก่จังหวัด สระบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี นครนายก และพระนครศรีอยุธยา ได้ดำเนินการ ภายใต้โครงการ ‘30 บาทรักษาทุกที่’ หรือ บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ ในหน่วยนวตกรรมเพื่อบริการสาธารณสุข 7 วิชาชีพ โดยเริ่มดำเนินการทั้ง 8 จังหวัด ในระยะที่ 3 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2567 มีหน่วยเข้าร่วม จำนวน 877 แห่ง มีประชาชนเข้ารับบริการมากกว่า257,335 ครั้งในปี 2567 โดยในปัจจุบัน ได้ดำเนินการ ในระยะที่ 5 ในเดือนมกราคม 2568 พร้อมกันทั่วประเทศ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น