หัวหน้าสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารอเนกประสงค์แบบพิเศษโรงเรียนเสาไห้ วิมลวิทยานุกูล จ.สระบุรี

หัวหน้าสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารอเนกประสงค์แบบพิเศษโรงเรียนเสาไห้ วิมลวิทยานุกูล  จ.สระบุรี


          พล.อ.อ.เกษม  อยู่สุข  หัวหน้าสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารอเนกประสงค์แบบพิเศษโรงเรียนเสาไห้ วิมลวิทยานุกูล โดยมีนายแมนรัตน์  รัตนสุคนธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี นำส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยผู้บริหาร คณะครูนักเรียน  โรงเรียนเสาไห้วิมลวิทยานุกูล  ให้การต้อนรับ


          โรงเรียนเสาไห้ วิมลวิทยานุกูล ก่อตั้งขึ้นโดยความริเริ่มของพระครูวิมลสมณวัตต์  อดีตเจ้าอาวาสวัดสูงและเจ้าคณะอำเภอเสาไห้  เมื่อปี พ.ศ. 2491  เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนแข่งขันสูง 1 ใน 200 แห่งทั่วประเทศ  เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีนักเรียนจำนวน 2,765 คนครูและบุคลากรทางการศึกษามีจำนวน 175 คนเป็นโรงเรียนแห่งเดียวในประเทศไทย ที่มีอาคารเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคล 7 รอบพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และอาคารเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคล 7 รอบพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเมื่อวันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2560 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติของโรงเรียน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่โรงเรียนเสาไห้วิมลวิทยานุกูลอย่างหาที่สุดมิได้


        ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2562 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์แบบพิเศษวงเงินงบประมาณ 51,789,000 บาท โดยบริษัทไพบูลย์วิศวกรรมจำกัดเป็นผู้ชนะการประมูลในการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์แห่งนี้ นับว่าเป็นหลังที่  4 ของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตัวประเทศและเป็นหลังแรกของการออกแบบสมัยใหม่ในการก่อสร้างซึ่งเป็นแบบไร้คาน มีพื้นที่ใช้สอย 5,0 48 ตารางเมตรใช้เวลาในการก่อสร้าง 480 วันกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 12 ตุลาคม 2563 โครงสร้างอาคารเป็นแบบพิเศษ 3 ชั้นชั้นล่างใช้เป็นโรงอาหารเพื่อรองรับนักเรียนของโรงเรียนในปัจจุบันและในอนาคตที่จะมีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นชั้นที่ 2 ใช้เป็นห้องปฏิบัติการห้องเฉลิมพระเกียรติห้องสมุดดิจิทัลชั้นที่ 3 เป็นห้องประชุมปรับอากาศ ความจุนักเรียนแบบนั่งกับพื้น 3,000 คน มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน นับว่าเป็นอาคารอเนกประสงค์แบบพิเศษที่สมบูรณ์แบบมากที่สุดในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของ สพฐ.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สระบุรี พบผู้เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีน Astre Zeneca เข็มแรกได้2วัน

สระบุรี-นักศึกษาหวิดดับขี่ จยย.กลับจากวิทยาลัยถูกสิบล้อเบียดตกร่องข้างถนนได้รับบาดเจ็บ

ดารูมะซูชิ ขยายสาขาแห่งแรกในหัวเมืองต่างจังหวัดที่ห้างดังสุขอนันต์ปาร์คสระบุรี